BRANDING MEDIA PLANNER
Overall
จะเน้นการวางแผนสื่อเพื่อให้เกิด brand awareness ต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายจะมีขนาดใหญ่เป็น mass target group การวางแผนจะคำนึงถึงความคุ้มค่า และราคาสื่อที่ซื้อค่อนข้างมากเนื่องจากเป็นการใช้เงินที่เยอะ โดยเงิน 100% จะแบ่งมาซื้อสื่อราวๆ 70-80% เลยทีเดียว ที่เหลืออีก 20% จะเป็นการผลิตชิ้นงานโฆษณาเช่น TVC, FB post ,YouTube video, Banner etc การวางสื่อของแนวนี้จึงให้ความสำคัญกับอำนาจต่อรองของ agency เพื่อให้ได้พื้นที่ที่ดี ในราคาที่ถูก รวมถึงของแถมต่างๆ ตัว Planner จะใช้เวลาในการทำแพลนค่อนข้างเยอะเนื่องจากปริมาณเงินที่ต้องใช้ แต่จะใช้เวลาในการ ดูแล และทำ report ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเวลาทั้งหมด
Scope of work
ตัว Planner จะเป็นคนทำ media recommendation proposal ไปเสนอลูกค้า โดยใช้ตัว brief เป็นตัวตั้งต้นในการทำงาน ซึ่ง brief อาจจะมาแบบคร่าวๆ แบบไม่มี target group ไม่มี budget หรือแม้แต่ timeline ซึ่งจะเป็นการบ้านที่ทางตัว Planner ต้องไปศึกษาข้อมูล แล้วมานำเสนอแก่ลูกค้า แต่ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดมาแล้วว่า งบเท่าไหร่ target เป็นใคร หลังจากเสนองานแล้วลูกค้าก็จะมีการ comment ให้ทางเรากลับไปปรับแก้หรือมีคำถามที่ทาง planner ต้องไปหาคำตอบมาให้ ก่อนที่ทางลูกค้าจะ confirm ให้เริ่มงานได้
Planning process
โดยคร่าวๆ กระกวนการทำงานของ Branding media planner จะมีลำดับประมาณนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าแต่ละเจ้าเช่นกัน โดยสิ่งเหล่านี้จะต้องอยู่ใน Media proposal ตอนนำเสนอลูกค้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการทำงานมีสิ่งที่ตัว planner จะต้องทำค่อนข้างเยอะกว่าจะได้มาเป็น Media proposal อันนึง
1. Briefing from client
2. Competitor media usage analysis
3. Identify target audience
4. Target audience media consumption analysis
5. Media strategy – tactic – operation
6. Identify KPI
7. Campaign budget and timeline laydown
Outcome & Measurement
สำหรับการกำหนดตัว Measurement นั้น จะสอดคล้องไปกับเป้ายหมายที่เราได้รับจากทางลูกค้า โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ
1) วัดผลจาก Marketing objective โดยตรงเช่น BHI (Brand health tracking) ว่ามีการเพิ่มขึ้นของ Brand awareness เท่าไหร่ เทียบก่อน-หลัง การทำ campaign หรือว่าวัดตรงไปที่ยอดขายเลยว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่การวัดลักษณะจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สื่อไหนใช้ได้ดีไม่ดี สื่อไหนควรจะต้องปรับปรุงอย่างไร
2) วัดผลจาก Media performance ซึ่งได้แก่ทำ BLS (Brand lift study) เป็นการส่งแบบสอบถามออกไปให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เราทำ campaign เปรียบเทียบระหว่างคนเห็นโฆษณา กับคนไม่เห็นโฆษณา ว่ามีการตอบแบบสอบถามแตกต่างกันแค่ไหน หรือวัดจากค่า Reach, Impression, frequency ก็ได้ อันนี้จะเป็นการวัดโดยตรงกับตัว Media ที่เราซื้อ ข้อดีเลยคือ ทำให้เห็นภาพว่าสื่อไหนทำได้ดีตรงตามแผนที่วางไว้ สื่อไหนราคาแพงไป เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการวัดผลแบบเฉพาะเจาะจงลงในแต่ละ campaign อีกด้วยเรียกว่า MMM (Marketing mix modeling) อันนี้จะเป็นการออกแบบการสำรวจเพื่อ campaign นั้นๆโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถบอกได้เลยว่าสื่อไหน มีผลต่อยอดขาย มากน้อยแค่ไหน สื่อไหนช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมี brand awareness มากขึ้น แต่การวัดผลแบบนี้ จะต้องจ้างบริษัท Research มาทำโดยเฉพาะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงไม่เป็นที่นิยม ยกเว้นกับ campaign ใหญ่ๆ หรือสำคัญมากจริงๆ